
รูปแบบของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
รูปแบบของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยเรือเหมาะสมกับการขนส่งคราวละมากๆ ระยะทางไกล ต้นทุนต่ำ ไม่เร่งด่วน ต้องการการวางแผนที่ดี เช่นสินค้าวัตถุดิบ ส่วนประกอบ เครื่องจักร ปัจจุบันนิยมการขนส่งทางเรือระบบคอนเทนเนอร์ โดยเครื่องบิน เหมาะสมกับการขนส่งที่ต้องการความเร่งด่วน ปริมาณน้อย ต้นทุนสูง ตอบสนองความ ต้องการผู้บริโภคได้ดี เช่นสินค้า อะไหล่เครื่องจักร สินค้าแฟชั่น ผัก ผลไม้ เครื่องประดับ โดยรถบรรทุก เหมาะสมกับการขนส่งประเทศใกล้เคียง ระยะสั้น ดำเนินการง่าย ส่งมอบรวดเร็วตาม กำหนด เช่น สินค้าอุปโภค บริโภค ส่งไปประเทศพม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย โดยทางรถไฟเหมาะสมกับการขนส่งประเทศใกล้เคียง ระยะสั้น ต้นทุนต่ำ เช่น ส่งออกนำเข้าด่าน ปาดังเบซาร์ประเทศมาเลเซีย มีเส้นทางรถไฟ กรุงเทพฯ – หาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์ – มาเลเซีย เชื่อมสู่สิงคโปร์ โดยขบวนการรถไฟระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก โดยทางท่อ เหมาะสมกับการขนส่งประเทศใกล้เคียง สินค้าเป็นน้ำมัน แก๊ส โดยไปรษณีย์ เหมาะสมกับตัวอย่างสินค้า สะดวก ต้นทุนต่ำ
การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
รูปแบบของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ หรือ International Logistics Services คือ การวางแผน ควบคุมกระบวนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการจัดส่งสินค้าจากประเทศหนึ่งไปยังประเทศหนึ่งตามความต้องการหรือข้อตกลงของคู่ค้า และการส่งสินค้าจะต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับและกฎหมายที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาการค้า ซึ่งระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศนับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญมาก เพราะเป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้ ผลกำไร และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ GDP ภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น โดยรูปแบบหลักสำหรับการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันประกอบด้วย
- การส่งสินค้าทางอากาศ
นับว่าเป็นช่องทางการขนส่งที่รวดเร็วมากที่สุด ซึ่งการให้บริการจะมีการรับประกันเวลาในการส่งมอบสินค้าหรือวัสดุให้กับผู้รับสินค้าที่ประเทศปลายทาง เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าประเภทที่สูญเสียง่าย สินค้าที่ต้องสั่งจองมาด้วยความรวดเร็ว สินค้ามีปริมาณน้อย และสินค้าที่ต้องการการส่งแบบรวดเร็ว เช่น สินค้าแฟชั่น เครื่องประดับ ผัก และผลไม้ แต่การขนส่งประเภทนี้จะมีค่าใช้จ่ายแพงกว่าการขนส่งประเภทอื่น
- การส่งสินค้าทางทะเล
เป็นช่องทางการขนส่งสินค้าที่ประหยัดต้นทุนที่สุด เหมาะสมกับสินค้าที่มีขนาดใหญ่ ขนส่งได้ปริมาณมาก ระยะทางไกล ไม่เร่งด่วน และเป็นสินค้าที่ยากแก่การเสียหาย เช่น ทราย แร่ ข้าวเปลือก เครื่องจักร ยางพารา การขนส่งประเภทนี้จำเป็นต้องมีวางแผนที่ดี เนื่องจากเราไม่สามารถคาดเดาระยะเวลาในการขนส่งสินค้าที่แน่นอนได้ เพราะบางครั้งอาจจะมีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการขนส่ง เช่น พายุเข้า คลื่นลมทะเลมีความไม่แน่นอน เป็นต้น
- การขนส่งสินค้าทางบก
การขนส่งสินค้าทางบกจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท การขนส่งทางถนน ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้าทางถนนคือ รถบรรทุก เหมาะสมกับการขนส่งประเทศใกล้เคียง เพราะเป็นการขนส่งสินค้าที่สะดวก รวดเร็ว สามารถส่งสินค้าไปถึงผู้ใช้ได้โดยตรง แต่ในกรณีที่ต้องส่งสินค้าไปต่างประเทศที่มีระยะทางไกลและไม่สามารถใช้การขนส่งทางถนนได้โดยตรง รถบรรทุกจะทำงานโดยการบรรทุกสินค้าไปส่งยังศูนย์กระจายสินค้า จุดแลกเปลี่ยนสินค้า หรือท่าเรือ เพื่อส่งสินค้าต่อทางเรือหรือทางอากาศแทน ซึ่งการขนส่งทางถนนจะตอบสนองต่อการขนส่งสินค้าประเภท สินค้าอุปโภค และบริโภค การขนส่งระบบราง ยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสินค้าทางรางคือ รถไฟ เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าหนักๆ ปริมาณมากและในระยะทางไกล อัตราค่าบริการไม่แพง การขนส่งทางรถไฟจะมีกำหนดเวลาออกและถึงจุดหมายปลายทาง ในระยะเวลาแน่นอน และมีความปลอดภัยจากการเสียหายของสินค้า ส่วนใหญ่สินค้าที่ส่งผ่านรถไฟคือ น้ำมัน และปูนซีเมนต์
- การส่งสินค้าผ่านท่อ
การขนส่งทางท่อเป็นระบบขนส่งที่มีลักษณะเฉพาะ เนื่องจากสินค้าที่ขนส่งต้องอยู่ในรูปของเหลวบริเวณที่ท่อผ่านจะต้องมีความชันไม่มาก เพื่อให้ของเหลวที่ไหลผ่านท่อไม่ไหลย้อนกลับและจะไม่มีการขนส่งเที่ยวกลับ สินค้าที่นิยมขนส่งทางท่อ ได้แก่ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติ
ขอบข่ายการให้บริการของธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
รูปแบบของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้เพราะผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไม่ประสงค์ที่จะเข้ามาดำเนินการ เรื่องการออกสินค้า การส่งสินค้า และการติดต่อเกี่ยวกับเอกสารการส่งออกและนำเข้าเอง เนื่องจากต้องการที่จะมุ่งเน้นในการใช้เวลาของตนในการผลิตสินค้า และการค้าขายสินค้าของตนซึ่งตนเองมีความชำนาญมากกว่าอย่างเต็มที่ด้วยเหตุนี้ธุรกรรมเหล่านี้ จึงได้ถูกมอบหมายมาให้ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศแทน ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจึงได้มีโอกาศเข้าไปให้บริการทั้งด้านผู้ส่งออก และผู้นำเข้าโดยมีธุรกรรมการให้บริการซึ่งสามารถกล่าวโดยละเอียดการให้บริการแก่ผู้ส่งออก (ผู้ส่งสินค้า) ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถให้บริการได้เลือกเส้นทางตลอดจนรูปแบบการขนส่ง และผู้ขนส่งที่น่าเชื่อถือให้แก่ผู้ส่งออก จองระวางเรือให้แก่ผู้ส่งออก ส่งสินค้าและออกเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น Forwarders’ Certificate of Receipt และ Forwarders’ Certificate of Transport ฯลฯ ให้แก่ผู้ส่งออก จัดแจงเรื่องโกดังเพื่อใช้ในการเก็บสินค้า (ถ้าจำเป็น) วัดและชั่งน้ำหนักสินค้า ทำการส่งสินค้าไปยังท่าเรือและจัดแจงด้านพิธีการศุลกากร ตลอดจนดำเนินการเรื่องเอกสารต่างๆแก่ ผู้ส่งออกแล้วส่งสินค้าลงเรือ การบริการที่ให้แก่ผู้รับสินค้า (ผู้นำเข้า) ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถดำเนินธุรกรรมให้บริการภายใต้คำแนะนำที่เขาได้รับจากผู้รับสินค้า ติดตามสินค้าแทนผู้รับสินค้า
ช่วยผู้รับสินค้าในการเก็บสินค้าเข้าโกดัง
รูปแบบของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ การบริการของศูนย์บริการนำเข้า-ส่ออกแบบเบ็ดเสร็จ พร้อมที่จะให้บริการด้านการขนส่งทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้า การบริการงานด้านสินค้าและเอกสารการค้าระหว่างประเทศอื่นๆ เช่น การจัดการประกันภัยสินค้า การจัดทำหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate Of Origin) การบรรจุหีบห่อ (Packaging) สินค้าเมื่อผู้รับสินค้าเป็นผู้รับผิดชอบในการขนสินค้า รับและตรวจสอบเอกสารต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งสินค้า รับสินค้าจากผู้ส่งสินค้า และชำระค่าระวางบรรทุก ดำเนินพิธีการศุลกากรและชำระเงินภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่างๆ แก่ศุลกากรตลอดจนเจ้าหน้าที่ ของทางการอื่นๆ จัดส่งสินค้าที่ผ่านพิธีการศุลกากร
รับส่งของไปต่างประเทศ, ส่งพัสดุไปต่างประเทศ Kerry, ส่งของไปต่างประเทศใกล้ฉัน, ส่งของไปต่างประเทศ DHL, ส่งพัสดุไปต่างประเทศ ราคาถูก, ส่งพัสดุไปต่างประเทศ ไปรษณีย์ไทย, ส่งของไปต่างประเทศ Kerry ราคา, ส่งของไปต่างประเทศ DHL ราคา, ส่งของไปต่างประเทศ Pantip, ส่งของไปต่างประเทศเกาหลี, ส่งของไปต่างประเทศ ขนส่งไหนดี, ส่งพัสดุไปต่างประเทศ ราคาถูก, ส่งพัสดุไปต่างประเทศ Pantip, ส่งพัสดุไปต่างประเทศ ใกล้ฉัน
